วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่4 ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน

ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน
หมายถึง การกระทำกิจกรรมใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่าง
บทเรียน อันเนื่องมาจากการที่ผู้สอนสื่อความหมาย
กับผู้เรียนโดยใช้สื่อชนิดต่างๆ  เพื่อติดต่อสื่อ ความหมาย
เกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องศึกษาตามหลักสูตรที่วางไว้
ความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.            ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดี
2.            ช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
3.            ช่วยเล้าความสนใจของเด็ก
4.            ช่วยขยายความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขึ้น
5.            ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
6.            ช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดี
7.            ช่วยส่งเสริมทักษะในด้านต่างๆ
8.            ช่วยปลูกฝังและส่งเสริมความคิดริเริ่ม
9.            ช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
10.    ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบ
11.    ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
12.    ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล
จุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนการสอน
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา
2. เพื่อสนองความสามารถ  ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน
3. เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน
4. เพื่อสนองเจตนารมณ์ของหลักสูตร  ให้ผู้เรียนได้คิดเป็น แก้ปัญหาและเกิดทักษะกระบวนการ
5. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
คือ  แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 
หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.            สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
2.            สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาบทเรียน
3.            จัดกิจกรรมที่แสดงถึงความชัดเจนของขั้นตอนการเรียนรู้
4.            สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
5.            สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหา
6.            จัดกิจกรรมให้มีลำดับขั้นตอน
7.            น่าสนใจ โดยการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม
8.            ใช้เทคนิควิธีสอนที่หลากหลาย
9.            มีบรรยากาศที่เป็นกันเอง
ประเภทของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.            กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  
2.            กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง 
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ทั่วไป
1.            การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.            สถานการณ์จำลอง
3.            การสัมภาษณ์
4.            การเชิญวิทยากร
5.            การเล่านิทาน
ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.            การนำเข้าสู่บทเรียน
2.            ขั้นสอน
3.            ขั้นสรุปและวัดผล
การนำเข้าสู่บทเรียน
คือ  ทักษะที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมก่อนเริ่มสอน เพื่อเป็น
การเตรียมนักเรียนให้มีความคิดว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร 
สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมา
สัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูสอนได้  จะใช้เวลาประมาณ  5-1
นาที  สำหรับการนำเข้าสู่บทเรียน
การนำเข้าสู่บทเรียน
วิธีนำเข้าสู่บทเรียน  มีหลายวิธี  ดังนี้
1.            ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
2.            ใช้คำถาม  เพื่อเชื่อมประสบการณ์เดิมของนักเรียนไปสู่ประสบการณ์ใหม่
3.            ให้นักเรียนสาธิตกิจกรรมที่สัมพันธ์กับบทเรียน
4.            เล่านิทาน  หรือ  เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เรียน
5.             ร้องเพลง  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเรียน
6.            ตั้งปัญหาหรือเล่นเกมทายปัญหา
7.            การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง  การที่ครูกำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไขให้แล้วนักเรียน         คิดว่าจะทำอย่างไร
ขั้นสอน
เป็นขั้นการสอนที่ครูผู้สอนจะต้องสอนให้ผู้เรียน
ได้มีความรู้ ความเข้าใจ ได้ตรงตามเนื้อหาสาระที่
จะสอน เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ขั้นสรุปและวัดผล
การสรุป  เป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด สรุปทั้งด้าน ความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ในการสรุปนั้นผู้สอนอาจสรุปเอง หรือผู้เรียนเป็นผู้สรุป หรือผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุป 
ขั้นสรุปและวัดผล
การวัดผลการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการถามตอบ การทำแบบฝึกหัด หรือการทำแบบทดสอบ

วีธีการสอนแบบบรรยาย
     คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ โดย พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน
วัตถุประสงค์
     วีธีการสอนโดยใช้กระบวนการบรรยายเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้ เนื้อหาสาระ หรือข้อมูลมากๆพร้อมๆกัน
ลักษณะการสอนบรรยาย
1.ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา
2.ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง
3.มุ่งถ่ายทอดความรู้โดยตรงแก่ผู้ฟัง
4.เน้นการถ่ายทอดสาระวิชาการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น